หลายคนอาจเคยมีอาการ "ปวดหัว" กันมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่าอาการปวดหัวที่เรารู้สึกนั้น บางครั้งอาจไม่ใช่อาการปวดหัวธรรมดา แต่อาจเป็น "ไมเกรน" ก็เป็นได้ ไมเกรน คือ
ไมเกรน (Migraine) คือ ภาวะปวดหัวเรื้อรังชนิดหนึ่ง ที่มีอาการปวดตุบ ๆ ตรงขมับข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรือไวต่อแสงและเสียงร่วมด้วย ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเป็นเป็นช่วง ๆ และกินเวลานานเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยไมเกรนเป็นอย่างมาก สาเหตุ ไมเกรน ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยหลายอย่างที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการได้ เช่น ความเครียด ฮอร์โมนเพศหญิงที่เปลี่ยนแปลง อาหารบางชนิด หรือการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น แต่ไม่ต้องกังวลไป เพราะวันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีป้องกันและบรรเทาอาการไมเกรนด้วยกัน เพื่อให้คุณสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ไม่ต้องทนทุกข์ทรมานกับอาการปวดหัวอีกต่อไป เพียงแค่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการดูแลตัวเองเล็กน้อย ก็ช่วยลดความถี่และความรุนแรงของอาการไมเกรนได้แล้ว
อาการปวดหัวไมเกรน สัญญาณเตือนที่ไม่ควรละเลยลองสังเกตดูว่าคุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่
ปวดหัวตุบ ๆ บริเวณขมับ หน้าผาก หรือท้ายทอยเป็นพัก ๆ
ปวดข้างเดียว หรือสองข้างพร้อมกัน
ปวดหัวจี๊ดราวกับมีเข็มทิ่มแทง
คลื่นไส้ อาเจียน หรืออ่อนเพลียร่วมด้วย
ไวต่อแสงหรือเสียงดัง ๆ
สายตาพร่ามัว มองเห็นแสงวูบวาบ
วิธีป้องกันและบรรเทาอาการ ปวดหัวไมเกรนแนะนำวิธีป้องกันและบรรเทาอาการที่สามารถทำตามกันได้ง่าย แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
วิธีบรรเทาอาการไมเกรน (กรณีเกิดอาการแล้ว)
รับประทานยาบรรเทาอาการหรือยาแก้ปวด อาจปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกยาที่เหมาะสมกับอาการ
พักผ่อน ลองหาที่เงียบสงบ มืด และเงียบ เพื่อพักผ่อน
ประคบเย็น ใช้ผ้าเย็นหรือถุงน้ำแข็งประคบบริเวณหน้าผาก ขมับ หรือท้ายทอย
หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้ให้ปวดแรงขึ้น เช่น แสงเสียงดัง กลิ่นแรง
ดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ
วิธีป้องกันเพื่อไม่ให้ไมเกรนกำเริบ
ระบุสิ่งกระตุ้น จดบันทึกสิ่งที่ทำ กิน หรือสถานการณ์ที่ทำให้เกิดไมเกรน เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นนั้น ๆ
การนอนหลับ นอนให้เพียงพอ นอนเป็นเวลา
การรับประทานอาหาร รับประทานอาหารให้เป็นเวลา หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นให้เกิดอาการ
การออกกำลังกาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยไม่หนักจนเกินไป
การจัดการกับอากรปวดตึงคอบ่าไหล่ ไม่ว่าจะเป็นโดยการยืดกล้ามเนื้อ การนวดไทย การทำกายภาพบำบัด การฝังเข็ม หรือการประคบ
การจัดการความเครียด ฝึกผ่อนคลาย เช่น การทำสมาธิ โยคะ
ใช้ยาป้องกัน สำหรับผู้ที่มีอาการไมเกรนบ่อยครั้ง แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อรับยาป้องกันเพื่อลดความถี่ของการกำเริบ
รักษาโรคประจำตัว หากมีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคภูมิแพ้ ควรควบคุมโรคให้ดี
ไมเกรน คือ ไม่ใช่เรื่องน่ากลัว ถ้าเรารู้จักวิธีป้องกันและรับมือ ไมเกรนเป็นอาการปวดหัวรุนแรงที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วยอย่างมาก แม้ว่ายังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่การป้องกัน และ วิธีบรรเทาอาการไมเกรน ด้วยวิธีต่างๆ ที่กล่าวมา จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับ อาการปวดหัวไมเกรน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
Refer: ผศ. นพ.เสกข์ แทนประเสริฐสุข medumore.org
Comments